• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน) หรือ ผู้ที่มี “ดวงตาเห็นธรรม”

Started by veerachai29, July 26, 2023, 10:35:13 AM

Previous topic - Next topic

veerachai29

        โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่ง
พระนิพพาน) หรือ ผู้ที่มี "ดวงตาเห็นธรรม" ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน ๔ ระดับ คือ โสดาบัน� สกทาคามีอนาคามีอรหันต์ การละสังโยชน์
สิ่งที่ควรเป็น โสดาบัน� ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน) หรือ ผู้ที่มี "ดวงตาเห็นธรรม" ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน ๔ ระดับ คือ โสดาบัน� สกทาคามีอนาคามีอรหันต์
การละสังโยชน์
โสดาบัน� ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการคือ
[list=1]
  • สักกายทิฏฐิ (กา-ยะ-) คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตนเป็นอัตตาทิฎฐิ เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน[/*]
  • วิจิกิจฉา (กิด-) คือ ความสงสัยในพระรัตนตรัย และในกุศลธรรมทั้งหลาย[/*]
  • สีลัพพตปรามาส (ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) คือ ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ที่เข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่บริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่น การประพฤติวัตรอย่างโค การนอนบนหนามของพวกโยคี เป็นต้น[/*]
การบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลมิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต (นักบวช) เท่านั้น แม้แต่คฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุเป็นอริยบุคคลได้ ผู้บรรลุโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
ประเภท
โสดาบัน แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
[list=1]
  • เอกพีชี (เอ-กะ-) ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว ก็จะบรรลุเป็นอรหันต์[/*]
  • โกลังโกละ ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือจะมาเกิดอีกเพียง ๒-๓ ชาติเท่านั้น แล้วจะได้สำเร็จเป็นอรหันต์[/*]
  • สัตตักขัตตุงปรมะ (ปะ-ระ-) ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือจะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป[/*]
การที่โสดาบันแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังที่เพราะว่าอินทรีย์ ๕ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ สติ และปัญญา แก่กล้าแตกต่างกัน ผู้ที่อินทรีย์ ๕ ถึงความแก่รอบสม่ำเสมอ ก็สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว โสดาบันประเภทนี้เอกพีชีโสดาบัน
ตัวอย่างบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลในพุทธกาล
[list=1]
  • นางวิสาขา[/*]
  • ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี[/*]
  • นางสิริมา[/*]
  • พระนางสามาวดี[/*]
  • พระเจ้าพิมพิสาร[/*]

พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน ๔ ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์
คุณสมบัติของบุคคลโสดาบัน
คุณสมบัติของพระโสดาบันเท่าที่รู้กันดีโดยทั่วไป ก็คือ การละสังโยชน์ ๓ ข้อต้น (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส) ได้ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติฝ่ายลบ หรือฝ่ายหมดไป แต่ความจริง มีคุณสมบัติฝ่ายบวก หรือฝ่ายมีด้วย และตามหลักฐานปรากฏว่า ท่านเน้นคุณสมบัติฝ่ายมีเป็นอย่างมาก
คุณสมบัติฝ่ายมีนั้น มีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็รวมอยู่ในหลักธรรมสําคัญสําหรับตั้งเป็น เกณฑ์ได้ ๕ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (ความเสียสละ) และปัญญา ในที่นี้ จะรวบรวมคุณสมบัติต่างๆ ทั้งฝ่ายหมดและฝ่ายมีมาเรียงไว้ โดยแสดงเฉพาะสาระสําคัญ ดังนี้
คุณสมบัติฝ่ายมี
๑. ด้านศรัทธา: เชื่อมีเหตุผล เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อในสังคมที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งจะเจริญ งอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้แสดงออกด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาใน พระรัตนตรัย เป็นศรัทธาซึ่งแน่วแน่ มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณ คือความรู้ ความเข้าใจ
๒. ด้านศีล: มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพ สุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน มีศีลที่เป็นไทคือเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของตัณหา ประพฤติตรงตามหลักการ ตามความหมายที่แท้ เพื่อความดี ความงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขัดเกลาลดกิเลส ความสงบใจ เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึง ศีล ๕ ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง จัดเป็นขั้นที่บําเพ็ญศีลได้บริบูรณ์
๓. ด้านสุตะ: เป็นสุตวา อริยสาวก หรืออริยสาวกผู้มีสุตะ คือได้เรียนรู้อริยธรรม รู้จักอารยธรรม นับว่าเป็นผู้มีการศึกษา
๔. ด้านจาคะ: อยู่ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่ มีน้ําใจเผื่อแผ่เสียสละ ยินดีในการให้ การเฉลี่ยเจือจานแบ่งปัน
๕. ด้านปัญญา: มีปัญญาอย่างเสขะ คือรู้ชัดในอริยสัจ ๔ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจทั้ง ๔ นั้น เรียกตามสํานวนธรรมว่า เป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง
๖. ด้านสังคม: พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสําหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน ที่ เรียกว่า สาราณียธรรม ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักข้อสุดท้ายที่ท่านถือว่า เป็นดุจยอดที่ยึดคุมหลักข้ออื่นๆ เข้าไว้ทั้งหมด กล่าวคือ ข้อว่าด้วยทิฏฐิสามัญญตา
สาราณียธรรม มี ๖ ข้อ คือ
๑) เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา เช่น ช่วยเหลือกัน และแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน
๒) เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา เช่น บอกแจ้งแนะนําตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพต่อกัน
๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา เช่น มองกันในแง่ดี คิดทําประโยชน์แก่กัน ยิ้มแย้มแจ่มใส
๔) สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน
๕) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตเสมอกับผู้อื่น ไม่ทําตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่
๖) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ ในอารยทฤษฎี ซึ่งนําไปสู่การกําจัดทุกข์ในข้อความที่ชี้แจงความหมายของอารยทฤษฎี หรือทิฏฐิที่เป็นอริยะ ในข้อ ๖ นั้น มีลักษณะที่เป็น ธรรมดาของพระโสดาบัน ซึ่งควรนํามากล่าวในที่นี้ ๒ อย่าง คือ
๑) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า เมื่อต้องอาบัติ (ละเมิดวินัย) ซึ่งแก้ไขได้ ก็จะรีบเปิดเผยแสดงให้พระศาสดาหรือเพื่อนร่วมหมู่คณะที่เป็นวิญญูได้ทราบทันที แล้วสังวรต่อไป เปรียบเหมือนเด็ก อ่อนแบเบาะเหยียดมือหรือเท้าไปถูกถ่านไฟเข้าจะรีบชักกลับทันที
๒) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า ทั้งที่เป็นผู้เอาใจใส่คอยขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระทั้งหลาย ทั้งงานสูงงานต่ำ ทั้งเรื่องใหญ่เรื่องย่อย ของเพื่อนร่วมหมู่คณะ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความใส่ใจอย่าง แรงกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาไปด้วย เหมือนแม่โคลูกอ่อน เล็มหญ้ากินไป ก็คอยแลระวังลูกน้อยไปด้วย คือ ทั้งช่วยส่วนรวม ทั้งคอยฝึกตนให้ก้าวต่อไปในมรรคา
๗. ด้านความสุข: เริ่มรู้จักโลกุตรสุข ที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส (เพราะได้บรรลุอริยวิมุตติแล้ว)
คุณสมบัติฝ่ายหมด หรือฝ่ายละ (แสดงเฉพาะที่สําคัญ และน่าสนใจพิเศษ)
๑. ละสังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง คือ
๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทําให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้แรงๆ)
๒) วิจิกิจฉา (ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา เป็นต้น ซึ่งทําให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา)
๓) สีลัพพตปรามาส (ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีล กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบ เรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั้นเป็นนี้ เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทําตามๆ กันมา)
๒. ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้ง ๕ อย่าง คือ
๑) อาวาสมัจฉริยะ (หวงที่อยู่อาศัย หวงถิ่น)
๒) กุลมัจฉริยะ (หวงตระกูล หวงพวก หวงสํานัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้ว่าเล่นพวก)
๓) ลาภมัจฉริยะ (หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้)
๔) วัณณมัจฉริยะ (หวงกิตติคุณ หวงคําสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคําสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้ว ทนไม่ได้)
๕) ธรรมมัจฉริยะ (หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือประสบผลสําเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน)
๓. ละอคติ คือความประพฤติผิดทาง หรือความลําเอียง ได้ทั้ง ๔ อย่าง คือ
๑) ฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะชอบ)
๒) โทสาคติ (ลําเอียงเพราะชัง)
๓) โมหาคติ (ลําเอียงเพราะหลง หรือเขลา)
๔) ภยาคติ (สําเอียงเพราะกลัว)
๔. ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรง ที่จะทําให้ถึงอบาย ไม่ทํากรรมชั่วขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย
๕. ระงับภัยเวรโทมนัสและทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึ่งเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามศีล ๕ เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้
ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมีนี้ ว่าโดยสาระสําคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละ สักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้น อย่างนี้ วิจิกิจฉา คือความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น
พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่ อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอํานาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความ จริงของโลกและชีวิต ทําให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จัก ความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น
กล่าวโดยย่อว่า ความเป็นโสดาบัน เป็นชีวิตระดับที่ยอมรับได้ว่าน่าพอใจ และวางใจได้ ทั้งในด้าน คุณธรรม และในด้านความสุข
ทําไมเราต้องมีศาสนาคิดดี พูดดี ทำดี เป็นไฉนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูปความทุกข์ ความดับทุกข์พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานวิมุตติจิต จิตตื่นรู้ พ้นจากอวิชชาสมมุติทั้งปวง
บรรลุนิพพาน บรรลุธรรม ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพาน มรรคผลนิพพานมีจริงอนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน-guidelineนิพพานธาตุโพชฌงค์อายตนะขันธ์โพธิปักขิยธรรม[url=https://www.nirvanattain.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%8